ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment2

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่
ตอบ  กระบวนการผลิตน้ำตาล

1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)
ช่วงนี้จะเป็นการสกัดเอาน้ำอ้อย ซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่มีซูโครสละลายน้ำอยู่ โดยอาจจะมีการลดขนาดของอ้อยลงก่อนด้วยชุดใบมีด เพื่อที่จะได้บีบเอาน้ำออกมาได้มากขึ้น ในการสกัดน้ำอ้อย จะผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ หรือ Crusher ( 4 – 5 ชุด ) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)
น้ำอ้อยที่ผลิตได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เพื่อแยกสารแขวนลอยออกไป เช่น ผ่านเครื่องกรองต่างๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อนและผสมปูนขาว น้ำอ้อยบางส่วนที่นอนก้นในหม้อก็จะถูกรีดน้ำต่อไป จนได้สารละลายที่มีความเข้มข้นราวๆ 12-16% ก่อนการผ้อนเข้าสู่ระบบระเหยน้ำในขั้นตอนต่อไป
3. การระเหย (Evaporation)
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporation) เพื่อระเหยเอาน้ำออก จนได้น้ำอ้อยที่มีความเข้มข้นประมาณ 65% อุณหภูมิของหม้อระเหยแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าความดันภายในที่ทำการควบคุมไว้ ในที่สุดจะได้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจากเครื่องระเหย เรียกว่า Syrup
4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว (Crystallization)
Syrup ที่ได้จากการระเหยจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อทำการตกผลึก ซึงการตกผลึกในขั้นตอนนี้อาศัยหลักการทำให้ตัวถูกละลาย ละลายได้น้อยลง เพราะตัวทำละลายคือน้ำเดือดภายใต้สภาวะสูญญากาศนั่นเอง แล้วในที่สุดทำให้ตัวถูกละลายคือผลึกซูโครสที่อยู่ในสภาพอิ่มตัวยิ่งยวด ที่จุดนี้ผลึกซูโครสจะเกิดขึ้นมาร่วมกับมาสสิคิวท์ (Massecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลโดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) แล้วเข้าระบบเป่าเพื่อไล่ความชื้นออก ในที่สุดเราจะได้ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลดิบ (Raw Sugar) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ยังไม่ได้ผ่านการฟอกสี สามารถบรรจุขายได้ทันทีเหมือนกันครับ หรือนำไปฟอกสีออกในขั้นตอนต่อไป
ทัศนคติของผู้บริโภคทั่วไปนั้น น้ำตาลทรายที่ดี จะต้องมีผลึกใสไม่มีสี ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการนำน้ำตาลทรายดิบไปฟอกสีออกจึงต้องมีกระบวนกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ แล้วน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากกระบวนการข้างต้นจะถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเพิ่มไปอีกราวๆ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
6. การปั่นละลาย  (Affinated Centrifugaling)
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) จะได้สารละลายน้ำตาลดิบที่ผสมซึ่งเรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลืองหรือกากน้ำตาลออก
7. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification)
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกสีเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้น้ำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8. การเคี่ยว (Crystallization)
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว หากถ้าเราต้องการผลิตน้ำตาลกรวดที่มีราคาแพงก็สามารถทำในขั้นตอนนี้ได้ครับ โดยที่เทคนิคก็คือ เราจะต้องปล่อยให้การตกผลึกนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆ (2-3วัน) จึงไม่ต้องแปลกใจครับว่าทำไมน้ำตาลกรวดถึงได้แพงซะเหลือเกิน การตกผลึกช้าๆนั้นจะทำให้ได้สารละลายที่มีโครงผลึกแน่นขึ้น เนื้อสัมผัสถึงได้แตกต่างไปจากน้ำตาลทรายปกตินั่นเองครับ
9. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลโดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาว
10. การอบ (Drying)
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ ( Dryer ) เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง 1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไป
 แหล่งที่มา: http://www.thaifoodscience.com/article/41-sugar-processing

เฉลย การบ้านครั้งที่ 2

Input Process Output
โรงงานน้ำตาล การสกัดน้ำอ้อย น้ำตาลทราย
เครื่องจักร การทำความสะอาดน้ำอ้อย กากน้ำตาล
วัตถุดิบ การต้มให้ได้น้ำเชื่อม ชานอ้อย
แรงงาน การปั่นแยกผลีกน้ำตาล
เงินทุน การอบ

การบรรจุถุง

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment1

1.Smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ
            จากอดีต จนถึงปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโทรศัพท์ในยุกแรก ๆ มีความสามารถในการโทรออก และรับสาย โดยที่ตัวเครื่องไม่ต้องยึดติดด้วยสายก็ถือว่าเป็นโทรศัพท์ที่น่าใช้งานแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีความทันสมัยเพิ่มมากขึ้นทำให้สามารถผลิตเครื่องโทรศัพท์ ที่มีความเร็ว และความจุเทียบเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถนำระบบปฏิบัติการลงไปใส่ในเครื่องโทรศัพท์ได้ และเป็นที่มาของโทรศัพท์ที่เรียกติดปากกันว่า Smart Phone
            Smart Phone คือโทรศัพท์ที่มีความสามารถมากกว่าการโทรออกและรับสาย ด้วยความที่ Smart Phone มีระบบปฏิบัติการอยู่ภายใน ทำให้มันสามารถทำงานได้ในลักษณะเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเราซื้อ Smart Phone สิ่งที่เราจะได้มาพร้อมกับเครื่องก็คือ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ เช่น Android, IOS, Windows mobile เวอร์ชั่น ต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องโทรศัพท์จำนวนหนึ่ง โปรแกรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่า "แอ็พ" โดยมีทั้งแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบที่ต้องเสียสตางค์ซื้อ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่กับ Smart Phone ก็คือ Internet ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายค่าย และมี Internet ความเร็วต่าง ๆ ให้ได้เลือกใช้งาน เช่น Wifi, EDGE/GPRS, 3G เป็นต้น หากคุณกำลังมองหาโทรศัพท์ตัวใหม่ แนะนำให้เลือกซื้อโทรศัพท์ที่เป็น Smart Phone แล้วคุณจะรู้ว่า การใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ง่ายขึ้นมาก 
 Smart Phone    มีประโยชน์ ดังนี้
 1. ทำตารางนัดหมาย / contact / สมุดบันทึก โดย sync กับ account ต่างๆ
2. ติดต่อ email / facebook
3. หาข้อมูล / เช็คข่าวสาร / อ่าน webboard / ตรวจสอบสภาพอากาศ / เช็ครอบภาพยนตร์
4. ฟังเพลง / ดูคลิป / ดู TV แบบ online
5. แผนที่ / การนำทาง / สภาพการจราจร (อันนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ตัดสินใจใช้ smartphone)
6. ปล่อยสัญญาณ internet ให้กับ Notebook
7. ใช้เป็น remote สำหรับโปรแกรมเล่นเพลงบน Notebook
8. ใช้เป็นไฟฉาย

แหล่งที่มา : http://www.ninetechno.com/a/google-play-android/627-smart-phone
                   http://forum.thaiandroidphone.com/thread-19006-1-1.html

2.Android คืออะไร ปกติจะพบสิ่งนี้ที่ใหน

          แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น             
        Android คือ ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์และเน็ตบุ๊ก ที่ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และทางกูเกิลได้นำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ส่วนด้านลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีหรือโอเพ่นซอร์ส (Open Source) ทำให้นักพัฒนาสามารถแก้ไข ดัดแปลงโค้ดแอนดรอยด์ได้อย่างอิสระ และที่สำคัญคือแตกฟรี สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 และแอนดรอย์เวอร์ชั่น 1.0 ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551
           ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถูกนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่หลายเจ้าต่างพัฒนาและผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ออกมาวางจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Samsung, HTC, Motorola และ Sony เป็นต้น และทางกูเกิลซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอนดรอยด์ก็ได้ผลิตสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาเช่นกัน เป็นสมาร์ทโฟนตระกูล Galaxy Nexus นั่นเอง


แหล่งที่มา  : http://th.wikipedia.org/wiki
                 http://android.kapook.com/view51072.html
3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด 

           Cyberbullying คือ การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือ การประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, เมสเสจ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่ายนั่นเอง
             การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจ รวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้น
            นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้



แหล่งที่มา : http://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying