ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment4

     ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ 3โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย
ตอบ 1. Internet Download Manager (IDM)
     Internet Download Manager (IDM) โปรแกรมช่วยดาวน์โหลด โหลดไฟล์ โหลดเพลง โปรแกรมนี้เป็น โปรแกรมช่วยดาวน์โหลด ไฟล์ต่างๆ ชื่อว่า Internet Download Manager หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า IDM เป็นที่จะช่วยเพิ่มความเร็วและการบริหารงานการ ดาวน์โหลดไฟล์ ต่างๆ โดยทางผู้พัฒนา โปรแกรมช่วยดาวน์โหลด ตัวนี้เค้าบอกว่าสามารถเพิ่มความเร็วการดาวน์โหลด ได้สูงสุดถึงมากถึง 500% หรือ 5 เท่า เลยทีเดียว และโปรแกรม IDM นี้ยังสามารถตั้งเวลาการ ดาวน์โหลดไฟล์ โหลดเพลง ให้เป็นไปตามเวลาที่ต้องการ พร้อมตัดการเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติได้อีกด้วย
     สำหรับ โปรแกรม IDM นี้ก็สนับสนุนโปรโตคอลการช่วยดาวน์โหลด ทุกรูปแบบอาทิเช่น ช่วยดาวน์โหลด แบบ HTTP FTP หรือ HTTPS ด้วยวีธีการแบ่งไฟล์แบบ Segment ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเลย ไม่ว่าจะเป็นทั้งการจัดตารางการ ดาวน์โหลดไฟล์ การต่อไฟล์ที่โหลดค้างไว้ ฯลฯ แถม โปรแกรม IDM นี้ยังออกแบบมาเพื่อลองรับการ ดาวน์โหลดไฟล์ มัลติมีเดียเช่น โหลดเพลง โหลดหนัง ทั้ง MP3 Audio และ DVD MPEG อีกต่างหาก
     หากพูดถึงในเรื่องของการสนับสนุน (Support) กับ การดาวน์โหลดไฟล์ โปรแกรมช่วยดาวน์โหลด IDM (Internet Download Manager) นี้ยังมีสามารถในการหมุน Modem ต่อ อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าไป ดาวน์โหลดไฟล์ ที่คุณได้ตั้งเอาไว้ หรือต้องการดาวน์โหลดให้จนเสร็จสิ้น และจะทำการตัดสาย หรือตัดการเชื่อมต่อ Modem เมื่อสิ้นสุดการดาวน์โหลด

แหล่งที่มา  http://software.thaiware.com/3758-Internet-Download-Manager-IDM.html


     2. โปรแกรม Microsoft Excel


     Excel เป็นโปรแกรมตารางงานซึ่งใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ สูตรคำนวณ ลงบนแผ่นตารางงานคล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไปในสมุดที่มีการตีช่องตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ตารางแต่ละช่องจะมีชื่อกำกับไว้ในแนวตั้งหรือสดมน์ของตารางเป็นตัวอักษรภาษอังกฤษเล่มจาก A,B,C,...เรื่อยไปจนสุดขอบตารางทางขวา มีทั้งหมด 256 สดมภ์(Column) แนวนอนมีหมายเลขกำกับเป็นบรรทัดที่ 1,2,3,...เรื่อยไปจนถึงบรรทัดสุดท้ายจำนวนบรรทัดจะต่างกันในแต่ละโปรแกรมในที่นี้เท่ากับ 65,536 แถว(Row) ช่องที่แนวตั้งและแนวนอนตัดกันเรียกว่า เซลล์ (Cell) ใช้บรรจุข้อมูล ข้อความ
     คุณสมบัติที่สำคัญของ Microsoft Excel
1. ความสามารถด้านการคำนวณ Excel สามารถป้อนสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
2. ความสามารถด้านใช้ฟังก์ชั่น เช่นฟังก์ชั่นเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข วันที่ ฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการเงิน หรือเกี่ยวกับการตัดสินใจ
3. ความสามารถในการสร้างกราฟ Excel สามารถนำข้อมูลที่ป้อนลงในตารางมาสร้างเป็นกราฟได้ทันที

แหล่งที่มา http://www.technonp.ac.th/excel/Excel.html


      3. โปรแกรม  Microsoft Word
ไมโครซอฟท์ เวิร์ด เป็นโปรแกรมประมวลคำเพื่อการค้า ออกแบบโดยไมโครซอฟท์ เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1983 ภายใต้ชื่อ มัลติ-ทูล เวิร์ด สำหรับระบบปฏิบัติการ Xenixโดยมีเวอร์ชันอื่นๆ ออกมาอีกภายหลังเพื่อทำงานเขียนสำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆ อาทิเช่น ไอบีเอ็มพีซีรันบนดอส (1983), แอปเปิล แมคอินทอช (1984), เอที&ที Unix PC (1985), Atari ST (1986), SCO UNIX, โอเอส/2, และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (1989) โดยเป็นองค์กอบหนึ่งของซอฟต์แวร์ระบบไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายแยกต่างหาก และรวมอยู่ในไมโครซอฟท์ เวิร์ก สูท เวอร์ชันปัจจุบัน คือ ไมโครซอฟท์ เวิร์ด 2010 สำหรับวินโดว์ และ 2011 สำหรับแมค

โปรแกรม Microsoft Office Word 2007 เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้กันมากอยู่ ในปัจจุบันนี้ เพราะมีคุณลักษณะที่ดี เช่น มีผช่วยคอยให้คำแนะนำ การจัดรูปแบบสะดวกรวดเร็ว ฯลฯ และมีประโยชน์ต่อการจัดเก็บเอกสารและการปรับแก้ไข พื้นฐานการใช้โปรแกรมตั้งแต่การ เปิด ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น แท็บเมนู แท็บเครื่องมือ มุมมอง ฯลฯ และการจัดการไฟล์เอกสาร เช่น การเปิด การปิด การบันทึก และการออกจากโปรแกรม ฯลฯ
                                                                                   แหล่งที่มา    http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.google.co.th/url?sa
 

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment3

1.ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษา มา 1 ระบบ อธิบายรายละเอียดโดยหลัก IPO มาพอสังเขป
ตอบ
แผนการสอน (Lesson Plan)

ชื่อวิชา                   ประวัติศาสตร์กฎหมาย                     รหัสวิชา                               230406
กลุ่มที่                     1                                                            จำนวนหน่วยกิต                3 (3-0)
อาจารย์ผู้สอน      อาจารย์จตุภูมิ ภูมิบุญชู


คำอธิบายรายวิชา
                 ที่มาของกฎหมายไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงยุคก่อนการปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูประบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายต่างๆ เช่น ระบบกฎหมายโรมาโน- เยอรมานิค กฎหมายแองโกลแซกซอน กฎหมายสังคมนิยม ฯลฯ ตลอดจนอิทธิพลของกฎหมายดังกล่าวที่มีต่อกฎหมายไทย

1. วัตถุประสงค์
             - นิสิตรู้และสามารถอธิบายคุณค่าในการศึกษารายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายได้
             - นิสิตสามารถจำแนกระยะเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยได้
             - นิสิตสามารถอธิบายแนวความคิดธรรมศาสตร์ราชศาสตร์ในกฎหมายไทยโบราณและเปรียบเทียบกับแนวความคิดในกฎหมายไทยในปัจจุบันได้
2. แผนการสอน

สัปดาห์ที่ 1-2:  การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ที่เป็นการศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงความหมายของประวัติศาสตร์ และคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย
สัปดาห์ที่ 3-5: การจำแนกยุคสมัยในทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย และกระบวนวิธีในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย
สัปดาห์ที่ 6-7 :     แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
                                 - แนวความคิดว่าด้วย มานวธรรมศาสตร์ของฮินดู
                                 - แนวความคิดทางกฎหมายว่าด้วยธรรมศาสตร ราชศาสตรที่ปรากฏในกฎหมายไทยก่อนปี พ.ศ. 2398
สัปดาห์ที่ 8-9 :     แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
                                 - การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่แนวความคิดกฎหมายแบบตะวันตก     
สัปดาห์ที่ 10-11 แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน
                                 - แนวความคิดในกฎหมายไทยปัจจุบัน (นับจาก ปี พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)
                                 - การละเลยการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในปัจจุบัน และผลลัพธ์
สัปดาห์ที่ 12-13 : สังเขปการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายโบราณบางลักษณะ                                                                       (การนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยนิสิต)                      
สัปดาห์ที่ 14-15: สังเขปการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายโบราณบางลักษณะ                       
                 (การนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยนิสิต)
               
3.   การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
                 3.1   บรรยาย                                                     
3.2  การถาม-ตอบในชั้นเรียน
                3.3    รายงาน / Present หน้าห้องเรียน        
3.4 ดูงานนอกสถานที่

4.   การวัดและประเมินผลการเรียน
                 4.1   หลักการจัดสรรคะแนน                                                         
·       ความมีส่วนร่วมในห้องเรียน
      และการทดสอบย่อยระหว่างเรียน      10       คะแนน
·       รายงานเดี่ยว+  present                                       30       คะแนน
·       สอบกลางภาค                                                      30       คะแนน
·       สอบปลายภาค                                                      30       คะแนน
                                 คะแนนรวม                                                        100        คะแนน
                 4.2   เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
                                 80   คะแนนขึ้นไป                            A            75 – 79   คะแนน              B+
                                 70 – 74   คะแนน                              B            65 – 69   คะแนน              C+
                                 60 – 64   คะแนน                              C            55 – 59   คะแนน              D+
                                 50 – 54   คะแนน                              D           ต่ำกว่า   50   คะแนน        F

5.   หนังสือประกอบการเรียน
5.1 แสวง  บุญเฉลิมวิลาศ. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. สำนักพิมพ์วิญญูชน กรุงเทพฯ
5.2 ร.แลงกาต์. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช, กรุงเทพฯ
5.3 จรัญ  โฆษณานันท์. ปรัชญากฎหมายไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร, 2536
5.4 (เอกสารอื่นๆที่อาจารย์มอบหมาย)

หมายเหตุ นิสิตสามารถดูแผนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายโดยละเอียด รวมทั้งดูเอกสารเพิ่มเติมที่อาจารย์มอบหมายและแนะนำการเรียนการสอนได้ที่


แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/185839